วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 11

 วันศุกร์ที่ 25 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน


ความรู้ที่ได้รับ

 ตัวอย่างกิจกรรม Different ant animals





  
    กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กใช้ชีวิตประจำในการสอน เช่น
ม้าลาย 2 ตัว
นก       2 ตัว
กบ       2 ตัว      
เป็ด      2 ตัว
นับขาได้กี่ขา รวมเป็น 22 ขา


ทักษะ
นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย 
กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต 
นิทานพีชคณิต
คำคล้องจองพีชคณิต

             1 2 3 1 2 3 _ _
     เลข 1 2 3        แล้วตามด้วย 1
 2 3 มาถึง              เลข 1 อีกหน
      1 2 แล้ว 3        เรียงงามน่ายล
ลองนับอีกกหน     น่าค้นหาเอย

นิทานพีชคณิต

ปริศนาคำ

วิธีการสอน
อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภายในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 10

 วันศุกร์ที่ 20 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

ความรู้ที่ได้รับ

สิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- แบ่งกลุ่มเป็น 8 กลุ่ม
- แต่ง คำคล้องจอง นิทาน ปริศนาคำทาย
ตามสาระการเรียนรู้ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
สาระที่ 1
   -จำนวนและการดำเนินการ

สาระที่ 2 
   -การวัด

สาระที่ 3
   -เรขนคณิต

สาระที่ 4
   -พีชคณิต

สาระที่ 5
   -การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่ 6
   -ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

ทักษะ

ได้รับมอบหมายงานสาระที่ 4 พีชคณิต

คำคล้องจองพีชคณิต
                                                                          1 2 3 1 2 3 _ 
     เลข 1 2 3        แล้วตามด้วย 1
                                                        2 3 มาถึง              เลข 1 อีกหน
      1 2 แล้ว 3        เรียงงามน่ายล
ลองนับอีกกหน     น่าค้นหาเอย  
นิทานพีชคณิต 
นิทานเรื่อง ลูกสัตว์เพื่อนรัก
เช้าวันนี้อากาศสดชื่นแจ่มใส สัตว์ทั้งหลายต่างพากันมาวิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน ลูกเป็ด ลูกไก่ ลูกแมว 
ลูกหมา เป็นเพื่อนรักกันไม่ว่าจะเล่นอะไร ก็จะเล่นด้วยกันและไปไหนมาไหนด้วยกันตลอดโดยมีลูกเป็ดเป็นผู้นำ ทั้งสี่มีเพลงร้องประจำกลุ่ม คือ "ลูกเป็ดเดินไป ลูกไก่เดินมา ลูกแมวเดินหน้า ลูกหมาเดินตาม 1 2 3 4 เดินตามเป็นแถว " วันนี้้พวกเขาททั้งสี่ไปเล่นน้ำที่สระ เมื่อถึงสระ ลูกเป็ดโดด ลูกไก่โดด ลูกแมวโดด ลูกหมาโดด เมื่อเล่นน้ำเสร็จทั้งหมดพากันกลับบ้าน ลูกเป็ดเดิน ลูกไก่เดิน ลูกแมวเดิน ....... เอ๊ะ!! ลูกสัตว์ตัวใดหายไปนะ เพื่อนๆลองช่วยกันนับค่ะ "ลูกหมา" นั่นเอง ที่หายไป เพื่อนๆช่วยกันเรียกลูกหมา ในที่สุดก็เจอ ทั้งหมดได้เมื่อได้พบกันแล้วก็เข้ากอดกันอย่างมีความสุข

ปริศนาคำทายพีชคณิต

หนูลองทายต่อไปนี้สิเป็นอะรัยเอ่ย

สี่เหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม วงกลม   ........
 สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม .........



วิธีการสอน
 อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม



ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภายในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 9

 วันศุกร์ที่ 13 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558





บันทึกอนุทิน

ความรู้ที่ได้รับ

การจัดประสบการณ์ แบบSTEM


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

       สาระที่ 2 การวัด 
            1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน / การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
            2. การวัดความยาว / ความสูงของสิ่งของอาจใช้เครื่องมือที่มีหน่วยมาตรฐาน
            3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นค่าที่ใช้ในเปรียบเทียบความยาวความสูงของสิ่งของต่าๆ
            4. การเรียงลำดับความยาว / ความสูง อาจเรียงจากน้อย >> มาก หรือ มาก >> น้อย
            5. การชั่งน้ำหนัก ปริมาณน้อยกว่า มากกว่า เท่ากัน เป็นค่าที่ใช้ในการเปรียบเทียบ
            6. การตวง
            7. ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร
            8. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วง ใหญ่ๆ คือกลางวัน กลางคืน
            9. เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น ค่ำ วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกเวลา
            10. ใน 1 สัปดาห์ มี 7 วัน คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์

       สาระที่ 3 เรขาคณิต
            1. ข้างบน ข้างล่าง เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ระยะ ทิศทางของสิ่งของต่างๆ
            2. การจำแนกวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

       สาระที่ 4 พีชคณิต
            รูปแบบความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น การต่อรูปให้เข้าชุดกับแบบที่กำหนด

       สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
            รวบรวมจากการสังเกตุ  และสอบถาม
            การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

        สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
             ใช้นิทานในการสอนบวก ลบจำนวน

ทักษะ

นำเสนอวิจัย
โดย นาวสาวประภัสสร สีหะบุตร เลขที่ 21
เรื่อง  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

สรุป 

       ทักษะทางพื้นฐานคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอย่างมีวินัยสำคํญทางสถิติ การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมนั้น ควรเตรียมครีมใส่กรวยเมื่อใกล้จะทำเพราะว่าถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้นำ้มันในครีมละลายซึมออกมานอกกรวยที่ใส่ครีมแต่งหน้าเค้กควรมีขนาดที่พอเหมาะกับมือของเด็กเพื่อที่จะได้สะดวกกับเด็กในการทำกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบมีพัฒนาการด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย เช่น
ด้านความคิดแก้ปัญหา ทักษะทางภาษาส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและลีลามือ การทำกิจกรรมนี้ทำให้เด็กมีความมั่นใจและตั้งใจในการทำกิจกรรม

นำเสนอวิจัย
โดย นาวสาวมาศสุภา วงษ์สรรค์ เลขที่ 23
เรื่อง  เรื่อง พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง
ชื่อผู้วิจัย  นางสาววรชนีกร พ่วงโพธิ์
สรุป 

     ในการส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญาของเด็กปฐมวัยนั้นจะแรทรกอยู่ทุกกิจกรรม แต่กิจกรรมที่มีความสนุกสนานและรู้สึกผ่อนคลาย พัฒนาสมอง เพลิดเพลินโดนเด็กไม่รู้เลยว่ากำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี เด็กได้เล่นไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวและฟังเพลงซึ่งเนื้อหาของเพลงจะสอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กอนุบาล ซึ่งมีสมาธิไม่มากพอจะจับมานั่งเรียนคณิตศาสตร์

กิจกรรม การสำรวจผลไม้ที่เด็กชอบ
    สตอเบอรี่
    แตงโม 
    มะพร้าว
    ส้มโอ



การฝึกร้องเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เพลง 
มาลีเดินมาเห็นหมาตัวใหญ่
มาลีตกใจร้องให้กลัวหมา
เห็นแมวตัวน้อยค่อยๆก้าวมา
แมวเล็กกว่าหมามาลีไม่กลัว

           *เนื้อหาในเพลงสามารถนำไปดัดแปลงให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จัดได้ *

วิธีการสอน

 อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม 

ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน  อากาศภายในห้องถ่ายเทได้สะดวก

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน  และจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
 เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ  

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 8

 วันศุกร์ที่ 6 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน

ความรู้ที่ได้รับ

การสอนแบบโครงการ

       คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนเอง การจัดการเรียนการสอนมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสศึกษาเรื่องที่ตนสนใจอย่างลุ่มลึก มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการวางแผนร่วมกัน ได้ฝึกสังเกต ค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติ เพื่อคิดค้นหาคำตอบเรื่องที่สงสัย จึงเป็นการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยผู้สอนมีบทบาทยอมรับความคิดเห็นและการแสดงออกของเด็ก เป็นผู้คอยช่วยเหลือ และสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสสำรวจ สังเกต ทดลอง จัดกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมีผู้ปกครองและชุมชนเป็นแหล่งวิชาการ เป็นผู้สนับสนุนและมีส่วนร่วม

วิธีการจัดการเรียนการสอนมี 

เริ่มโครงการ >ระยะวางแผนโครงการ>ดำเนินโครงการตามที่กำหนด>สรุปโครงการ

ประโยชน์

- เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
- เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะที่มีอยู่
- เด็กเกิดแรงจูงใจภายในที่เกิดจากตัวเด็กเองในการทำกิจกรรม
- เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข
- นำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง


การจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน

     การออกแบบกระบวนการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาสมองของเด็ก เช่น ความแตกต่างระหว่างสมองของชายและหญิง มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสมองชายและหญิง จะพบส่วนที่แตกต่างไม่กี่ส่วนเท่านั้น

หลัการสำคัญ

1. Uniquenness สมองของแต่ละคนมีความเฉพาะ
2. ภาวะความเครียด จะมีผลยับยั้งรวมไปถึงการทำลายสมองด้วย
3. อารมณ์และความรู้สึกมีผลต่อการเรียนรู้
4. ขอมูลถูกเก็บและนำออกมาใช้ โดยความทรงจำหลายๆแบบ
5. การเรียนรู้ทุกชนิดอยู่บนพื้นฐานของ "จิตใจ-ร่างกาย"
6. สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนและปรับตัวตลอดเวลา
7. Brain is meaning driven - กระตุ้นความสนใจของสมองมากกว่า เนื้อหาของข้อมูลหรือข่าวสาร
8. ความฉลาด คือ ความสามารถในการรับรู้ เก็บ จัดระบบ และนำไปใช้ประโยชน์
9. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เข้มข้น และเกิดภายใต้จิตมนุษย์
10. สมองจะพัฒนาได้ดีมากเมื่อมันมีปฏิสัมพันธ์กับสมองอื่นๆ
11. สมองพัฒนาไปทีละขั้น
12. การทำนุบำรุงสมองเกิดขึนได้ทุกอายุ

การจัดประสบการณ์ แบบSTEM

      เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ละวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กัับผู้เรียน
S - Science-วิทยาศาสตร์
     ช่วยให้เรามีทักษะพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล
T-Technology-เทคโนโลยี
      วิทยาการมี่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือ สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
E-Engineering-วิศวกรรมศาสตร์
       ทักษะกระบวนการออกแบบ การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบที่ใช้งานได้จริง
M-Mathematic-คณิตศาสตร์
       วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวน

ทักษะ


การนำเสนอบทความเลขที่ 19


ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็ก

การสอนคณิตศาสตร์มีประโยชน์ในระยะยาว การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็กนั้น ไม่ใช่เพียงการสอนแค่การสร้างเด็กให้เก่ง และมีหัวทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มันหมายถึงประโยชน์หลายๆอย่างที่เด็กจะได้รับ ความสามารถพิเศษ เช่น การเรียนรู้อย่างรวดเร็ว  โดยที่ไม่ต้องใช้ความพยายามซึ่งสามารถทำได้ในหลายๆวิชา ไม่ว่าจะเป็น การอ่าน กิจกรรม การออกกำลังกาย ความรู้ความสาราณุกรม หรือ แม้แต่การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล

การนำเสนอบทความเลขที่ 20

คณิตศาสตร์ฐมวัย เรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ
   

   จะใช้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์แบบไม่ลงโทษเด็กเวลาเด็กทำการบ้านไม่เสร็จแต่จะให้เวลาเด็กทำก่อนเรียน 20 นาที และเวลาที่เด็กทำผิดก็จะไม่กากบาทลงในข้อที่ผิดแต่จะเรียกมาอธิบายข้อผิดให้ฟังและให้แก้ข้อผิดตรงนั้นเลยเพราะครุไม่อยากทำให้เด็กรู้สึกไม่ชอบคณิตศาสตร์ และยังใช้เทคนิคการสอนโดยใช้ เกม และเพลง เข้ามาใช้ในการสอนด้วย

             

                                  เพลง บวกลบ

            บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีชิเออ                 ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ                หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ                  ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ

เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน

      ช้างมีสี่ขา      ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา      สองขาต่างกัน
      ช้างม้ามี        สีขา เท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น         ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

                     เพลง ขวดห้าใบ

           ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
  เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
  คงเหลือขวด.......ใบวางอยู่บนกำแพง
  (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
  ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

                              เพลงจับปู

          หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า  จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
    หก เจ็ด แปด เก้า สิบ  ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
    กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว  ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ
    ลา  ล้า  ลา....................................

วิธีการสอน

 -ใช้การบรรยายประกอบการเรียนการสอนด้วย Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-มีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

ประเมิน

สภาพห้องเรียน
-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน
-  บรรยายกาศเย็นสบาย

ตนเอง
- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

เพื่อน
- เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี และบางกลุ่มก็เข้าเรียนสาย

อาจารย์
- เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส 


บันทึกครั้งที่ 7

 วันศุกร์ที่ 20เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

ความรู้ที่ได้รับ

รูปแบบการจัดประสบการณ์
    การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
    การจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
    การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
    การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
    การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
    การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง
รูปแบบการบูรณาการ
หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

การนำไปใช้ 

เด็ก ต้อง ควร อยาก รู้อะไร    >> สาระการเรียนรู้
เด็ก ต้อง ควร อยาก ทำอะไร >> ทักษะ ประสบการณ์สำคัญ

ทักษะ

นำเสนอโทรทัศน์ครู

โดย นางสาววัชรี วงศ์สะอาด
สรุป

    เรียนรู้เรื่องผลไม้ ให้เด็กได้ชิมรสของผลไม้ เล่นจ้ำจี้ผลไม้ และนำเด็กไปทัศนศีกษา แต่ก่อนไปมีการทำข้อตกลงก่อนไปโดยเสนอว่ามีข้อตกลงใดบ้าง เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์กับแม่ค้า
ตัวอย่างการเรียนรู้ เมื่อเจอแม่ค้าสวัสดี ถามว่าผลไม้นี้ขายอย่าไร หากเป็นกิโลก็จะให้เด็กช่ายกันนับว่าส้ม 1 กิโลกรัม เข็มกิโลจะเป็นอย่างไร และจะได้ทั้งหมดกี่ผลจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่อง รูปทรง การวัด การนับ
* การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบนอกสถานที่ *

เพลง นับนิ้วมือ

                                               นี่คือนิ้วมือของฉัน            มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
                                               มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว            มือขวาก็มี 5 นิ้ว
                                               นับ 1 2 3 4 5                 นับต่อมา 6 7 8 9 10
                                               นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ           นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

วิธีการสอน

ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ เช่น การจัดประสบการณ์ดังกล่าวเป็นรูปแบบใด 
เป็นแนวคิดของใคร
นำเสนอผ่านโปรแกรม Microsoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน
ประเมิน

สภาพห้องเรียน   - เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา 
ตนเอง   -  มีความรับผิดชอบ ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน    -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
อาจารย์  - เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ และมีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนาน