วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



บันทึกครั้งที่ 6

 วันศุกร์ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้
ความรู้ที่ได้รับ

เนื้อหา/สาระ
    เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
    กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน

เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
    นิทาน 
    เพลง 
    เกม
    คำคล้องจอง
    ปริศนาคำทาย
    บทบาทสมมติ
    แผนภูมิภาพ
    การประกอบอาหาร
    
กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน
     เพลง คำคล้องจอง 
การใช้ดนตรีและการเคลื่อนไหวเพื่อให้เด็กได้นับจังหวะ
     เกม 
เกมเกี่ยวกับจำนวน  เช่น  บิงโก  โดมิโน
     ปริศนาคำทาย 
ควรเพิ่มลักษณะขึ้นเรื่อยๆ ให้เด็กได้เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
     นิทาน 
กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการสอนอะไร และวางตัวละครของเรื่อง
     บทบาทสมมติ 
การเล่นกิจกรรมเสรี เช่น การเล่นขายของ
     แผนภูมิภาพ 
ให้เด็กจัดทำแผนภูมิอย่างง่ายจากวัสดุที่หลากหลาย  เช่น  แผนภูมิรูปภาพ/ของจริง  เช่น  กล่องนม  แผนภูมิแท่ง  แผนภูมิวงกลม 



ทักษะ

         อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายชื่อไปติดในช่องตาราง โดยกำหนดหัวข้อ คือ สถานที่ที่จะไปในวันวาเลนไทน์





          การจัดกิจกรรมดังกล่าวเด็กได้เรียนรู้ทักษะการรวม การแยกกลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการได้ลงมือปฏิบัติจริง

การรายงานวิจัยหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 13 - 15
    เลขที่ 14 รายงานวิจัยเรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์
                   สรุปวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อในท้องถิ่น 4 ประเภท คือ รูปทรงเรขาคณิต ประเภทตามขนาด ประเภทตามชนิด และประเภทตามสี  เช่น การเล่นบล็อกที่ทำจากไม้ประดู่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น

    เลขที่ 15 รายงานวิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์
                  สรุปบทความ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการเรียนปนเล่น โดยใช้การละเล่นแบบไทย เช่น การละเล่นรีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย และเกมบรรไดงู เพื่อพัฒนามมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การนับเลข จำนวน 1 - 30 ตัวเลขจำนวนคู่ - คี่ และการเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ เพื่อปลูกฝั่งความมีเหตุผล ให้สัมพันธ์กับช่วงวัย

การใช้เพลงที่แต่งขึ้นเอง จัดประสบการณ์เพื่อสงเสริมสาระรู้ค่าของจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย

*** เพลง เลขสอง ***
                                                   ไข่ 2 ฟอง            กลอง 2 ใบ 
                                                   ไก่ 2 ตัว               วัว 2 เขา 
                                                   เกาเหลา 2 ชาม    นับไปนับมา 
                                                   สองอย่างหมดเลย

เกม การหารูปทรงจากสี่เหลี่ยม
สื่อ กระดาษสีทรงสี่เหลี่ยมขนาด 1.5 X 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น
วิธีเล่น ให้สร้างรูปทรงจากจำนวนสี่เหลี่ยมที่กำหนด โดยด้านใดด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมติดกัน
โจทย์ จำนวน 1 ชิ้น    >>>     จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 1 รูป 
          จำนวน 2 ชิ้น   >>>      จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 1 รูป
          จำนวน 3 ชิ้น   >>>      จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 2 รูป
          จำนวน 4 ชิ้น   >>>      จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 5 รูป
          จำนวน 5 ชิ้น   >>>      จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 12 รูป



วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้แบบทดสอบก่อนเรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความรู้เดิม  ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย และใช้เกมในการสอน เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้โดยการได้ลงมือปฏิบัต

ประเมิน

สภาพห้องเรียน

เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศถ่ายเท


ตนเอง

เข้าชั้นเรียนตรงเวลา จดบันทึก สรุปความจากอาจารย์บรรยาย แนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เนื่องด้วยเป็นวันสุดท้ายของการเรียน ทำให้เหนื่อยล้า และไม่มีสมาธิระหว่างเรียนเท่าที่ควร

เพื่อน

เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์

อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดง
ความคิดเห็น

**หมายเหตุ**  ศึกษาจากของนางสาววราภรณ์  แทนคำ

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2558

แบบบันทึกอนุทิน

ความรู้ที่ได้รับ

- สาระและมาตรฐานทางคณิตศาสตร์
- สาระและมาตรฐานทางคณิตศาสตร์สู่การปฎิบัติในชั้นเรียน

  *เพื่อน เลขที่ 11 นำเสนอบทความ ( ชนากาน แสนสุข )*
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 เพื่อ ช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการคิด ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และ การหาคำตอบด้วยตัวเอง

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา โดยการลงมือกระทำ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1.จำนวนและการดำเนินการ
เข้าใจพื้นฐานการนับ จำนวน การเปรียบเทียบ คำศัพท์ และ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
สาระที่2.การวัด 
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก เงิน และ เวลา 
สาระที่ 3.เรขาคณิต
รู้จักบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทางได้
สาระที่ 4.พีชคณิต
เข้าใจ แม่แบบ และ ความสัมพันธ์ 
สาระที่ 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เข้าใจในการนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่ 6.ทักษะและกระบวนการทางคณิต
รู้จักใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหา 

เพลง :จัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายื่นตรง

เพลง :ซ้ายขวา

ยื่นให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
ยื่นให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนขวาอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลง :นกกระจิบ

นั้นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า 
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบตัว

ทักษะ

ทำแบบทดสอบก่อนเรียน


วิธีการสอน

- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

- ยกตัวอย่างประกอบในการสอน

การประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด เทคโนโลยีเหมาะสำหรับการใช้งาน

ตนเอง
-มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรีบยร้อย ตั้งใจเรียน

เพื่อน
มีเพื่อนบางส่วนเข้าเรียนสาย มีคุยกันบ้างบางเวลาที่อาจารย์สอน

อาจารย์
-อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาเป็นกันเอง  มีการเตรียมความพร้อมทุกครั้งก่อนมาสอน และมีเนื้อหาการสอนที่ละเอียดและเข้าใจได้ง่าย

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                                                     
บันทึกครั้งที่4

วันพุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

แบบบันทึกอนุทิน


     ความรู้ที่ได้รับ

คุณลักษณะตามวัยของเด็กหรือคุณลักษณะตามธรรมชาติ
- พฤติกรรมทางด้านร่างกาย
พฤติกรรมทางด้านอารมณ์ จิตใจ
-  พฤติกรรมทางด้านสังคม
-  พฤติกรรมทางด้านสติปัญญา


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

-ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ >> รู้จักคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
-มโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  >> การบวก การลบ
-รู้จักกระบวนนการการหาคำตอบ
-ฝึกฝนคณิตพื้นฐาน
-มีความรู้ความเข้าใจ
-ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาาคำตอบด้วยตัวเอง
  
   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศสตร์

1 สังเเกตุ Observation
    - ประสาทสัมผัสทั้งห้า
    - มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงอย่างมีจุดมุ่หมาย

2 การจำแนกประเภท Lassifying
    - การแบ่งประเภทสิ่งโดยหาเกณฑ์
    - เกณฑ์การจำแนก

3 การเปรียบเทียบ Comparing
    - อาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
    - มีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์มี่ต้องใช้

4 การจัดลำดับ Ordering
    - การเปรียบเทียบขั้นสูง
    - การจัดลำดับเหตุการณ์

5 การวัด Measurement
    - มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
    - การวัดสำหรับเด็ก เช่น เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก
6 การนับ Counting
    - ท่องจำไม่เข้าใจความหมาย
    - ท่องแบบมีความหมายเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7 รูปทรงและขนาด Sharp and Size
    - เด็กกส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าโรงเรียน เพราะเป็นประสบการณ์ที่อยู่รอบๆตัวเด็ก


       คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

  • ตัวเลข                       -น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด                        -ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
  • รูปร่าง                       -วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า
  • ที่ตั้ง                          -บน ต่ำ ระยะทาง
  • ค่าของเงิน                -สลึง หนึ่งบาท หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
  • ความเร็ว                   -เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
  • อุณหภูมิ                   - เดือด ร้อน อุ่น  เย็น   

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 

1 การนับ
2 ตัวเลข
3 การจับคู่
4 การจัดประเภท
5 การเปรียบเทียบ
6 รูปร่างและพื้นที่
7 การวัด
8 การจัดลำดับ

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย 

1 สอดคล้องกับชีวิประจำวัน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ้ด็กมองเห็นความจำเป็น
2 เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตัวเอง
3 วางแผน
4 เอาใจใส่กับลำดับพัฒนาการ

ทักษะ

*ทำแบบทดสอบก่อนเรียน*

1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์?
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย?
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย?
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย?

เกมทายตัวเลข

เลขอะไรไม่เข้าพวก
20 25 15 23
ตัวอย่าง  เกณฑ์ 5 หารลงตัว  ตอบ 23 ต่างจากพวก
เกณฑ์ มีเลข 2 อยู่ข้างหน้า ตอบ 15
** มีความเป็นไปได้ทุกตัว เนื่องด้วยเกณฑ์ที่ต่างกัน **

โจทย์คือ
ครูตั้งคำถาม
48 หาร 2 = ?
12 คูณ 2 = ?
วันหนึ่งมีกี่ชั่วโมง ?
คำตอบ คือ 24 
เราสามารถตั้งคำถามได้มากมาย คิดออกมาได้เรื่อยๆ คำตอบคือ โจทย์ นั่นเอง

เพลง สวัสดียามเช้า

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า  อาบน้ำการแต่งตัว 
กินอาหารดีมีทั่ว  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน  
หลั่นล้า  หลั่นล้า  หลั่นล่า  ลันลา 
หลั่นลา  หลั่นล้า


วิธีการสอน

ใช้ Power Point  ในการเรียนการสอน ให้บอกลักษณะของปูแดง และการถามคำถาม เพื่อสอดแสรกในเนื้อหา

สภาพห้องเรียน

เก้าอี้จัดไม่เป็นระเบียบ  อุปกรณ์ในห้องเรียนสะดวกต่อการใช้งาน แอร์เย็นมากเกินไป 

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนก่อนเวลา ช่วยอาจารย์จัดเก้าอี้ ตั้งใจเรียน ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม และมีการจดบันทึกขณะเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนบางกลุ่มมาเรียนสาย  มีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังอาจรย์มีการกล่าวตักเตือน เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาก่อนเวลา  แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะเป็นกันเอง