วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558


สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง คณิตศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย : กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

  โรงเรียนบ้านสำโรงเกียติ จ.ศรีสะเกษ

       การจัดการเรียนการสอนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในทุกๆด้าน อย่างเช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา คุณครูจะเน้นของจริง เพื่อเป็นการกระตุ้นในประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเช่น ตามีไว้ดู จมูกมีไว้ดมกลิ่น ปากมีไว้ชิมรส มือมีไว้สัมผัส โดยการใช้ของจริง โดยการกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ จากประสบการณ์ต่างๆในห้องเรียน
ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง
-เด็กได้เห็นของจริง โดยการมองขนาดของรูปทรง และสามารถบอกขนาดรูปทรงว่า อันไหนขนาดใหญ่ อันไหนขนาดเล็ก 

ประสาทสัมผัสที่ 2 การฟัง
-การฟังก็จะมีเสียงที่ไม่เหมือนกัน และก็จะเขย่าให้เด็กได้ฟังเสียงดังที่สุด ไปหาเสียงที่เบาที่สุด และเด้กก็จะสามารถบอกเสียงนั้นๆได้

ประสาทสัมผัสที่ 3 การดมกลิ่น
-เด็กสามารถแยกแยะกลิ่นต่างๆได้

ประสาทสัมผัสที่ 4 การสัมผัส
-เด็กสามารถจดจำเรื่องรสธรรมชาติ แล้วไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยสัมผัส และรับรู้มา



วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558



สรุปวิจัย

เรื่อง ความตองการของผูปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย พิชญาดา ดําแกว  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

       ระดับความตองการของผูปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวยั พบวา ความตองการของผูปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย ในภาพรวมและการจําแนกรายได้ ดานผูปกครองมีความตองการอยูในระดับมากทุกดาน   เปรียบเทียบความตองการของผูปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย จําแนกตามปจจัยเสริมที่มีผลตอความตองการของผูปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตรสําหรับเด็ก ปฐมวัย พบวาปจจัยเสริมที่มอีิทธิพลตอความตองการของผูปกครองคือตองการใหเด็กเก่งตั้งแตปฐมวัยอยู ในระดับมาก

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่3

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558


แบบบันทึกอนุทิน
1.ความรู้ที่ได้รับ

ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา

-พัฒนาการคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
-พัฒนาการทางสติัปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
-พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียตเจต์ บรูเนอร์์ ไวกอตซกี้มีลักษณะอย่างไร
-การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
-เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร


อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันท่องคำคล้อจอง
                           คำคล้องจอง หน้า - กลาง - หลัง
                       เรือใบ    สีแดง     แล่นแซง     ขึันหน้า
                       เรือใบ    สีฟ้า       ตามมา        อยู่กลาง
                       เรือใบ    ลำไหน   แล่นอยู่       ข้างหน้า
                       สีขาว     ช้าจัง      อยู่หลัง       สุดเลย


2.ทักษะ
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา
      
      ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ

พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ในทางที่พึงปรารถนาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ ทางสังคม  และทางสติปัญญา ซึ่งจะเกิดติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง

ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ ทำให้ผู้สอนรู้จัก เข้าใจ และตระหนักถึงความแตกต่างของเด็ก นำมาซึ่งการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน          


3.วิธีการสอน

ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย และใช้คำคล้องจองนำเข้าสู่บทเรียน

4.ประเมิน

-สภาพในห้องเรียน

แอร์เย็นเกินไป อุปกรณ์ภายในห้องเรียนไม่ค่อยครบถ้วนเท่าไร ส่วนโปรเจคเตอร์ก็ไม่ค่อยชัด คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และเก้าอี้จัดชิดกันมากไป  

-ตัวเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย และจดบันทึกสรุปความจากอาจารย์บรรยาย 

-เพื่อน

เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความมุ่งมั้นและตั้งใจในเวลาอาจารย์สอน ช่วยกันแสดงความคิดเห็น และตอบคำถามที่อาจารย์ถามอย่างตั้งใจ


-อาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไฟเราะอ่อนหวาน มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และตอบคำถาม

สรุปบทความ



สรุปบทความ

เรื่อง บทบาทของพ่อแม่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูก

โดย ทัศนีย์ สงวนสัตย์

       การเรียนรู้ของเด็กจะเริ่มในทันทีที่เด็กเกิด มิได้เริ่มเรียนรู้เมื่อไปโรงเรียน กระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง เริ่มที่บ้าน เรียนรู้จากประสบการณ์ จากการพูดคุยกับพ่อ แม่ พี่ น้อง จากเพื่อน และจากบุคคลอื่น รอบ ๆ ตัว พ่อแม่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้ของลูกเป็นอย่างมาก เจตคติและความสนใจของพ่อแม่จะมีอิทธิพลต่อเจตคติและความสนใจต่อการเรียนรู้ของลูกด้วย ในฐานะพ่อแม่ ท่านมีโอกาสอย่างมากที่จะช่วยพัฒนา บ่มเพาะทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก้ลูกตั้งแต่เขายังไม่เข้าโรงเรียน สิ่งง่าย ๆ ที่ท่านควรจะเริ่มต้นฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่ลูก คือการคาดคะเน หรือการเดาอย่างมีเหตุผล หรือภาษาทางคณิตศาสตร์เรียกว่าการประมาณค่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าในการไปจับจ่ายซื้อของ การเดินทางการหุงหาอาหาร ทำความสะอาดบ้าน การกินอยู่หลับนอน การประกอบอาชีพ ฯลฯ เรียกได้ว่าการประมาณค่าจะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกอย่างก้าวของชีวิต ในฐานะผู้ใหญ่เราอาจใช้การประมาณค่าสูงถึง 80 % แทนการคิดคำนวนที่ต้องคิดอย่างถูกต้องด้วยวิธีคำนวนหรือด้วยเครื่องคิดเลข เมื่อการประมาณค่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตท่านจะช่วยลูกหลานของท่านให้มีทักษะด้านนี้ได้อย่างไรแม้ว่าโรงเรียนจะสอนเรื่องการประมาณค่า แต่ท่านสามารถเริ่มต้นได้ที่บ้านก่อนลูกเข้าโรงเรียน เมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์อำนวยท่านสามารถเริ่มได้ทันที เช่นที่โต๊ะอาหาร มีทอดมันในจาน 8 ชิ้นพ่อแม่ ลูกอีก2 คน จะได้รับประทานคนละกี่ชิ้น หรือไปซื้อของที่ตลาดสด หรือติดแอร์ก็ตาม มีเงินไป 200 บาท เมื่อดูราคาของแล้วจะได้อะไรมาบ้างจึงจะพอดีกับเงินหรือไปรับประทานอาหารนอกบ้านมีเงินไป 500 บาท ดูรายการอาหารแล้วจะสั่งอะไรได้บ้าง เป็นต้น




วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่2

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558


แบบบันทึกอนุทิน
1.ความรู้ที่ได้รับ

-ความหมายของคณิตศาสตร์ คือ วิชชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนาณตัวเลข เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพทุกๆอาชีพ เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านสิ่งรอบๆตัว จากการสังเกต สัมผัส และการเปรียบเทียบ

-ความสำคัญของคณิตศาสตร์ คือ คณิตาสตร์เป็นศาสตร์วิชาที่สำคัญในการดำรงชีวิต เป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆทำให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล รอบคอบ ละเอียด ถี่ถ้วน และมีไหวพริบปฎิภาณที่ดีขึ้น

-ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ คือ ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการทางความคิด เช่น การรู้จำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนก และการเรียงลำดับ เป็นต้น ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดที่ดี และมีประสิทธิ์ภาพสูงสุด ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ปฐมวัยของ สสวท. ทั้ง 5 สาระ

-ทักษะทางคณิตสาสตร์ คือ คณิตศาสตร์ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจำแนกสื่อต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ หรือ ขนาด แนวคิดคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเราตลอดเวลา สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ใช้ในชีวิตประจำวันทุกๆวัน ช่วยปลูกฝัง และอบรมให้มีนิสัย ละเอียด ถี่ถ้วน สุขุม รอบคอบ มีไหวพริบปฎิภาณ

2.ทักษะ
กิจกรรมภายในห้องเรียน



นำเสนอบทความ

โดย

นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก

สรุปได้ว่า

- ถ้าจะจัดคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย ต้องให้เด็กได้ลงมือปฎิติบัติจริง เพื่อไปกระตุ้น สมอง เกิดความคิดใหม่ๆ โดยจะต้องเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย การวัด การจำแนก ประเภทต่างๆ เพราะสิงที่สัมพันธ์จะไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ทำให้เกิดความคิดรอบยอด





นำเสนอบทความ

โดย

นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์

สรุปได้ว่า

- คณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่อยู้ในครรภ์มารดา และการมีปฏิสัมพันธ์จากครอบครัวและสิ่งแวดล้อม จะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดพัฒนาการทางคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น


3.วิธีการสอน

- สอนโดยการให้รับฟังเเละการมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม

และมีสื่อการเรียนการสอนประกอบเป็นเพาเว่อร์พอร์ย



4.ประเมินสภาพห้องเรียน

- ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อยดี  บรรยากาศน่าเรียน อุปกรณ์ในห้องเรียนครบถ้วน 



ประเมินตนเอง

- ตั้งใจรับฟังบทความที่เพื่อนเสนอ ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน

ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม




ประเมินเพื่อน

- เพื่อนในห้องเรียนมีความสนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด  ร่วมกันทำกิจกรรมอย่่างสนุกสนาน และตั้งใจ




ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำเเบบน่าสนใจ

เพาเวอร์พอร์ยที่ให้ดูก็มีความน่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย







บันทึกครั้งที่1

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม 2558


แบบบันทึกอนุทิน
1.ความรู้ที่ได้รับ

คุณครูอธิบายการจัดประสบการ์ณคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและให้สรุปเป็น my mapping ของตนเอง

2.ทักษะ

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
-การจัด
-ประสบการณ์
-เด็กปฐมวัย
-คณิตศาสตร์

3.วิธีการสอน

อาจารย์์สอนโดยการให้ฟังอาจารย์อธิบายเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มและมีสื่อการสอนประกอบเป็น Power Poin

4.ประเมิน

-สภาพในห้องเรียน
 บรรยากาศภายในห้องเรียนสะอาด เรียบร้อยดี แอร์เย็นมากไป และอุปกรณ์เทคโนโลยีภายในห้องเรียนค่อนข้างไม่สมบูรณ์สักเท่าไร
-ตัวเอง
ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายมุ่งมั้น และมีสมาธิอย่างมากระหว่างเรียน
-เพื่อน
ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์ และมีการพูดคุยกันบ้างเล็กน้อย
-อาจารย์
อธิบายรายละเอียดต่างๆอย่างชัดเจน พูดเสียงดัง มีการกำหนดข้อตกลงต่างๆ เช่น เวลาเข้าเรียน เวลาส่งงาน ไว้อย่างชัดเจนพุดคุยเป็นกันเองกับนักศึกษา