วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 14



 วันพุธที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนอการสอน เรื่อง ดอกไม้*

วิธีการสอน  ให้เด็กร้องเพลงดอกไม้ ถามชนิดดอกไม้ในเพลง แล้วถามความรู้เดิมของเด็กว่ารู้จักดอกไม้ชนิดอื่นไหมนอกจากในเพลงไหม หลังจากนั้นให้เด็กนับจำนวนดอกไม้ทั้งหมดพร้อมบอกชื่อ แยกประเภท ดอกกุหลาบออกจากกลุ่มโดยการจับคู่ 1ต่อ 1 ดอกกุหลาบหมดก่อนแสดงว่าดอกกุหลาบน้อยกว่า แล้วก็ทบทวนกับเด็กว่า วันนี้เราเรียนเรื่อง ดอกไม้ เด็กได้รู้จักชนิดของดอกไม้ มะลิ กุหลาบ ทานตะวัน พุทธซ้อน

เพลง

ดอกไม้มีนานาพันธุ์
 มะลิสีขาว กุหลาบสีแดง
 ทานตะวันนั้นมีสีเหลือง
 เด็กๆ ดูซิน่าชวนชมเอยๆ

 
- สุ่มเพื่อนออกไปสอน  คือ นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
 
   สอนโดยใชขนม แล้วถามเด็กว่าขนมมีทั้งหมดกี่ชิ้น  แล้วก็นับจำนวนขนมทั้งหมดทีละชิ้นพร้อมกัน
 
วิธีการประเมิน   
-สังเกต
-ทดสอบ
-สัมภาษณ์
-สนทนา
-ผลงาน

วิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย คือ  การสนทนาและผลงาน
 
- เทคนิคการสอนเด็กให้เรียนรู้แบบต่อเนื่อง ก็คือต้องใช้ สารสัมพันธ์ผู้ปกครอง
 

 
ทักษะ

-วิเคราะห์คำถามจากอาจารย์ผู้สอน
-การร้องเพลง
- วิคราะห์คำถามร่วมกับเพื่อน
- การแสดงความคิดเห็น


วิธีการสอน
ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ 
เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
มีการสอนแบบเป็นรูปธรรม ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

ประเมิน
สภาพห้องเรียน
-รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ตนเอง
-เข้าเรียนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  พูดจาสุภาพ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และสนใจกับกิจกรรมที่ทำได้เป็นอย่างดี  

เพื่อน
-เข้าเรียนตรงเวลา บางคนก็เข้ามาเรียนสาย แต่งกายสุภาพ เพื่อนบางคนก็คุยกันเสียงดัง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

อาจารย์
-เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีคำแนะนำและให้คำปรึกษาในเรื่องที่นักศึกษาไม่เข้าใจ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 13

วันพุธที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558

*เพื่อนๆเเต่ละกลุ่มนำเสนอเเผนการสอน เรื่อง ไก่ , กล้วย, สนุัข ,เเตงโม*

กิจกรรมการเรียนรู้
-ครูเเละเด็กร่วมกันร้องเพลงเเตงโม
-ครูสนทนาเละถามถึงเนื้อหาในเพลงว่ามีเตงโมกี่ชนิดไ้เก่อะไรบ้าง
-ครูถามถึงประสบการณ์เดิมว่าเด็กมีควมรู้เกี่ยวกับเเตงโมมไหม
-นำเเตงโมใส่ตระกร้าเเล้วนำผ้ามาปิดไว้เพื่อให้เด็กๆทายว่าในตระกร้ามีอะไรอยู่เเล้วให้เด็กนับจำนวนรูปเเตงโมงที่อยู่ในตระกร้าเเล้วเเยกประเภทระหว่างเเตงโมจินตหราเเละเเตงโมนํ้าผึ้งหลังจากนั้นมาพิสูจน์ว่าเเตงโมงชนิดไหนที่น้อยกว่าเเละมากกว่ากันโดยการเเบ่งออกทีละ1

เพลง เเตงโม
เตงโม  เเตงโม  เเตงโม
โอโฮ้  เเตงโม  ลูกใหญ่
เนื้อเเดง  เรียกว่า  จินตหรา
เนื้อเหลื่อง นี่หนา เรียกว่า นํ้าผึง

เพลง กล้วย
กล้วยคือผลไม้ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วนกินกล้วยมีวิตามิน
กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่
ขาดไม่ได้คือกล้วยนํ้าว้า
ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า

ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

เพลง ไก่ กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่ชนเดินมา เเล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ไก่ไก่  ไก่นั้นมีสองขา
ไก่เจ้เดินมา เเล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก

นำเสนอของ เลขที่ 12,18

เลขที่ 12 น.ส. เจนจิรา เทียมนิล (บทความ)

ชื่อเรื่อง...การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
ควรเน้นให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำกับวัตถุต่างๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้การเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสตอปัญญาการจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กพัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุดเเละกระตุ้นให้เด็กได้สัมผัสเเตะต้องได้่ห็นสิ่งต่างๆหรือเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัว

เลขที่ 18 น.ส. ยุภา  ธรรมโครต เลขที่ 18  (โทรทัศน์ครู)

      ชื่อเรื่อง...ฝึกคิดสร้างสรรค์โดยใช้ศิลปะ น.ส. ยุภา  ธรรมโครต เลขที่ 18  โทรทัศน์ครู
ครูให้เด็กหยิบก้อนหินมาตามใจเด็กเเล้วครูเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เด็กมาตกเเต่งก้อนหิน ซึ่งเชื่อมโยงกับการสอนคณิตศาสตร์คือ ขนาดรูปร่าง-->ก้อนหิน ปริมาณ-->มาก-น้อย หนัก-เบา

ทักษะ
- มีการร้องเพลง เเละ อ่านคำคล้องจ้อง
- ให้นักศึกษา ได้ออกไปร่วมทำกิจกรรม

วิธีการสอน
- มีการบรรยายโดยการใช้เรื่องสมุติเสมื่อนจริง

ประเมิน

สภาพห้องเรียน
-บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียนอุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมพร้อมใช้งาน

ตนเอง
-มา้รียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

 เพื่อน
-มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
-เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทุกครั้งที่เรียน

บันทึกครั้งที่ 12



 วันศุกร์ที่ 3 เดือนเมษายนพ.ศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ

*เก็บตกเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอโทรทัศน์ครูและงานวิจัย*

  • เลขที่ 25 นำเสนอโรทัศน์ครู เรื่องรายการทอค์ด อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 1
         การจะสอนเด็กให้ดีสอนให้ง่าย ต้องสอนผ่านของเล่น เพราะเด็กเล็กจะเริ่มเรียนรู้ สี ขนาด รูปทรง
แล้วค่อยใช้สัญลักษณ์ตัวเลขเพราะเด็กอนุบาลจะเรียนรู้แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งครูจะสอนโดยใช้แกะเป็นสื่อโดยการถามเด็กผ่านสีของตัวแกะ เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องขนาดแล้วสอดแทรกเรื่องการนับให้เด็กนับจำนวนแกะและใช้สัญลักษณ์ตัวเลขอีกวิธีหนึ่งคือวางตัวเลข 1 2 3 แล้วให้เด็กเอากระดุมวางตามจำนวนตัวเลข

  • เลขที่4 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
     ใช้การสอนแบบสาธิตและปฏิบัติจริงเป็นรายบุคคลหรือมากกว่าหนึ่งคนในบางกิจกรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เด็กทำงานไปตามลำดับความยากง่าย และเป็นไปตามความสามารถ และจังหวะ ช้า-เร็วของเด็ก โดยจัดให้เด็กรู้วงจรของงานคือ หยิบงานจากชั้นอุปกรณ์ ปฏิบัติงานจนเสร็จ แล้วจึงนำอุปกรณ์นั้นเก็บคืนชั้นด้วยตนเอง เด็กมีอิสระในการเลือกอุปกรณ์ทำงานด้วยตนเอง
 เด็กสามารถทำงานกับอุปกรณ์นานเท่าที่เด็กต้องการ ในการปฏิบัติกิจกรรมผู้วิจัยเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นให้กับเด็กก่อนที่เด็กจะทำงานด้วยตนเอง ถ้าเด็กไม่ประสบผลสำเร็จในการทำงานกับอุปกรณ์แต่ละอย่างผู้วิจัยจะทำการสาธิตอีกครั้งหนึ่งจนกว่าเด็กเกิดความเข้าใจและสามารถทำงานนั้นๆ ได้ด้วยตนเอง  เป็นการจัดศึกษากลุ่มประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวทาง


     วิธีการของมอนเตสซอรี่ โดยผู้วิจัยคัดเลือกกิจกรรม 15 กิจกรรม ให้สอดคล้องเหมาะสมกับอายุของ
เด็กปฐมวัยที่จะศึกษา คือ อายุระหว่าง 4-5 ปี 

  • เลขที่5 นำเสนอวิจัย เรื่องการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการ
     ศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียน
กาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก    :   ประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาเเละเพลง 30 คน
กลุ่มที่สอง   : จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู 30 คน

เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครูทั้งนี้อาจเพราะเด็ก ชอบเล่นเกม ชอบร้องเพลงอยู่เเล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่นการเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เ็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มี
ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

  • เลขที่ 6 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ  
  ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้       
1. ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสใเด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอดแทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำกิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร   
 2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกตขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง     
3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดยการจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม

- แบ่งกลุ่มเขียนมายแม็บและแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีหัวข้อเรื่องคือ สุนัข กล้วย แตงโม ไก่
*กลุ่มพวกเรา ได้แตงโม*


 ซึ่งการออกแบบกิจกรรมจะต้องประกอบไปด้วย
  1. ศึกษา สาระที่ควรเรียนรู้
  2. วิเคราะห์เนื้อหา
  3. ศึกษาประสบการณ์สำคัญ
  4. บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
  5. ออกแบบกิจกรรม
ทักษะ
-กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม
-รู้จักการตั้งคำถามในหัวข้อที่ควรจะเน้นเป็นสำคัญ เเละไหวพริบในการตอบคำถาม
-คิดวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอนเรียงลำดับ

วิธีการสอน
-สอนโดยการใช้สื่อภาพประกอบรูปสัตว์ต่างๆเพื่อเป็นตัวอย่างในการคิดการสอนโดยใช้เเผน
-เพื่อให้รู้ว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งรอบตัวในแต่ละวัน
- สอนโดยการให้ผู้เรียนเป็นสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
-เมื่อสิ่งไหนที่ไม่เข้าประเด็นอาจารย์ก็จะเสริมต่อเเนะนำให้เพื่อให้ได้วามรู้ที่ถูกต้อง



ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน  อากาศภายในห้องถ่ายเทได้สะดวก

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน  และจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์

 เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ